พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. ๒๕๕๘
เพื่อให้เป็นไปตามกฏหมายดังกล่าว สมาชิกทุกท่านต้องอ่านทำความเข้าใจและปฏิบัติตามอย่างเคร่งคัด
หลวงปู่บุญ สวนน...
หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน ตกุดเงินมาก หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา หมายเลข 115
ตกุดเงินมาก
หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน
อ.ปักธงชัย
จ.นครราชสีมา
หมายเลข 115
ประวัติหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล (หลวงพ่อบุญ) อริยสงฆ์แห่งปักธงชัย เนื้อนาบุญทองแท้แห่งที่ราบสูง
บิดา นายหลอด แรมกิ่ง 
มารดา นางคำ แรมกิ่ง 
เกิดที่บ้านปอแดง หมู่ที่๔ ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ 
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ 
ณ พัทธสีมา วัดบ้านห้วยสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 
โดยมี พระครูสาทรคณารักษ์
(หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท)
วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระครูพิศาลสุขวัฒน์ วัดสุขวัฒนาราม เป็นกรรมวาจาจารย์ 
พระครูสุทธิสีลคุณ วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อครั้งหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล ยังครองหฤหัสอยู่ได้ทำงานเป็นนายช่างในการก่อสร้างตัดถนน สืบศิริให้กับบริษัทฝรั่งแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถนนตัดผ่านหน้าวัดปอแดงปัจจุบัน ได้เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์พร้อมกับเพื่อนสนิทของท่าน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เพื่อนสนิทของท่านที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยที่เป็นทหารนั้นต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ยังผลให้หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล เสียใจมากต่อเหตุการณ์
นั้นถึงขนาดเศร้าซึมและเหม่อลอย จนกระทั่งหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุ เจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ได้
เทศนาธรรมให้ข้อคิดต่อหลวงปู่ใจความว่า “ก้อนเขละ (เสมหะ) ที่บ้วนทิ้งออกไปแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น
เดิมได้” จึงเกิดเป็นปฏิปทานต่อหลวงปู่ในการก้าวสู่ร่มกาสาวพัตรเพื่อศึกษาและปฏิบัตรธรรมะ โดยมีจุด
ประสงค์นิพพานตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุเจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ธรรมทายาทของหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโทอยู่ที่วัดปอแดง ๒ พรรษา โดยได้ศึกษาธรรมและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ต่างๆกับหลวงพ่อวิชัย ซึ่งหลวงปู่สมบุญได้เคร่งครัดในธรรมวินัยโดยจริยวัฒน์งดงาม หลังจากนั้นได้ไปศึกษากรรมฐานวิชชากับหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ เก่งกล้าทางด้านฌาญสมาบัติ ทั้งยังเป็นเอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา เทพเจ้าแห่งปักธงชัยผู้เป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่มั่น ปุริสุโธ และเป็นศิษย์ผู้สืบทอดวิชาอาคมจากสำเร็จลุน สังฆราชเจ้าแห่งประเทศลาวโดยตรง ในการศึกษากับหลวงปู่ก้อนนั้นหลวงปู่สมบุญ นอกจากจะได้ศึกษาในหลักการกรรมฐานวิชชา แล้วนั้นยังได้รับการถ่ายทอดอาคมต่างๆ จากหลวงปู่ก้อน ที่เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา เทพเจ้าแห่งปักธงชัยผู้มีกรรมฐานวิชชาและอาคมที่เก่งกล้ามากอีก ๑ พรรษาเพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติวัตรธุดงค์เพื่อจาริกแสวงบุญพร้อมกับบำเพ็ญเพียรตามที่ได้ตั้งใจเมื่อครั้งก้าวเข้าสู่เพศบรรพชิตโดยมีจุดหมายคือสำเร็จมรรคผลนิพพานอย่างตั้งมั่นหลวงปู่สมบุญได้ออกธุดงค์เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ จนถึง ปี ๒๕๓๘ โดยในปีแรกได้เริ่มต้นโดยการออกธุดงธ์ไปกับหลวงพ่อวิชัยผู้เป็นอาจารย์จุดมุ่งหมายในที่แรกคือ วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ชา สุภทฺโท ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่ มีผลผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านวิปัสสนาธุระ ที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทย และมีลูกศิษย์เป็นชาวต่างประเทศมากมายโดยการไปกราบนมัสการหลวงปู่ชาในครั้งนั้นได้ศึกษาวิชาวิปัสนากรรมฐานจากหลวงปู่ชา สุภทฺโท อย่างแน่วแน่และตั้งใจปฏิบัติในแนวทางกรรมฐานของหลวงปู่ชา หลังจากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปจนถึงประเทศลาวเพื่อสักการะแด่สำเร็จลุน ณ ภูเขาควาย ที่ประเทศลาว ซึ่งเป็นที่ที่ สำเร็จลุณ ใช้ปฏิบัติธรรมอยู่ในสมัยที่ยังมีชีวิต โดยหลวงปู่สมบุญนั้นถือได้ว่าเป็นเหลนศิษย์ของสำเร็จลุนเนื่องด้วย หลวงปู่ก้อนพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่สมบุญ เป็นศิษย์ของหลวงปู่โต คังคะปัญญาซึ่งเป็นศิษย์ใน สำเร็จ ลุน สืบวิชาสายตรงมา กล่าวถึงสำเร็จ ลุน เป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มน้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นศิษย์ รวมถึงหลวงปู่มั่น ปุริสุโธ ซึ่งเป็นปรจารย์แห่งภิกษุทั้งหลายในภาคอีสาน สำเร็จลุนนั้นท่านมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สำเร็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงได้ด้วยเท้าเปล่า และบางครั้งท่านจะไปสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของสำเร็จลุน
ในการธุดงค์ของหลวงปู่สมบุญ เจตนาคือเพื่อที่จะทำการศึกษาหลักวิชาอาคมและหลักธรรม รวมถึงฝึกวิปัสนากรรมฐานเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในเจตนาแรกของการอุปสมบท จากคำบอกเล่าของศิษยานุศิษย์รุ่นต่างๆ ที่ได้ใกล้ชิดกับหลวงปู่สมบุญ ทั้งที่ได้ร่วมธุดงค์และจากคำบอกเล่าประสบการณ์การธุดงค์ของหลวงปู่แก่เหล่าลูกศิษย์นั้น พอจะเรียบเรียงได้ดังนี้ หลังจากกลับจากธุดงค์ประเทศลาวนั้น หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดปอแดง โดยได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานวิปัสนาธรรมจากที่ได้ร่ำเรียนจากอาจารย์ต่างๆ ในช่วงธุดงค์อยู่เป็นนิตย์ ระหว่างการจำพรรษาอยู่นั้นก็ได้รับการอบรมหลักวิชาธรรมะเพิ่มเติมจากพระอาจารย์วิชัย และพระมหาธนิต ปสุโต ปธ.๙ ประโยค แห่งวัดชนะสงคราม โดยพระมหาธนิตผู้นี้ เป็นผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนและเน้นหนักในปฏิบัติวิถี กล่าวคือเมื่อท่านได้สอบได้ในเปรียญธรรม๙ประโยคแล้วนั้นท่านไม่ขอรับสมณศักดิ์ใดๆ เลยทั้งสิ้นมุ่งหน้าสู่วิเวกปฏิบัติและเผยหลักปฏิบัติกรรมฐานแด่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมหาธนิตผู้นี้เป็นผู้เริ่มในการจัดงานปริวาสกรรมที่วัดปอแดงขึ้น โดยการยึดเอาวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีเป็นวันเริ่มการปริวาส ซึ่งเมื่อกาลก่อนในสมัยหลวงปู่โต คังคฺปัญญา นั้นในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีจะเป็นวันที่ชาวบ้านนัดหมายกันมาที่วัดปอแดงเพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทที่หลวงปู่โต อัญเชิญมาจากอินเดียเมื่อคราวที่ได้ออกธุดงค์ไปอินเดียเมื่อพระมหาธนิตเห็นว่าวันดังกล่าวเป็นวันดีที่ชาวบ้านจะมาชุมนุมอยู่แล้วจึงจัดให้มีการชุมนุมสงฆ์ เพื่อให้เข้ามาร่วมงานปริวาสกรรมด้วย โดยงานปริวาสกรรมนี้ได้จัดเป็นประเพนีสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้พระมหาธนิตเป็นหนึ่งในบูรพาจารย์ที่ทางหลวงปู่สมบุญยึดถือเอาเป็นแบบอย่างในการไม่ยึดติดในสมณศักดิ์ใดๆ ดังจะเห็นได้จากการที่หลวงปู่ไม่รับสมณศักดิ์ใดๆเลยแม้แต่เจ้าอาวาสโดยให้ลูกศิษย์ต่างๆ ของท่านดำรงสมณศักดิ์แทน
หลักธรรมะ
ปัจจุบันหลวงปู่อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๔๐ ปฏิบัติธรรม กรรมฐาน พร้อมกับออกเทศนาสั่งสอนแก่ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอปักธงชัยและโคราช จนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนญาติโยม โดยให้หลักธรรมมะแก่ประชาชนคือ ลดละไฟ ๓ กอง คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หากสามารถดับไฟ ๓ กองนี้หรือเพียงแค่ลดได้ชีวิตนี้ก็จะเป็นสุข เมตตาของหลวงปู่สมบุญนั้นเหลือประมาณ ในบ่อยครั้งหลวงปู่จะนำปัจจัยและสิ่งของที่ได้จากการถวายจากญาติโยม ไปซื้ออุปกรณ์เกี่ยวการศึกษา เช่น สมุด หนังสือ เครื่องเขียน ไปให้ตามโรงเรียนต่างๆ โดยนำไปให้ด้วยตนเองด้วยความเมตตาของท่านเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้กับนักเรียนทั้งในเขตอำเภอปักธงชัยและโคราช อีกทั้งยังได้สร้างสำนักกรรมฐาน สำนักสงฆ์อีกหลายแห่งเพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมบ่อยครั้งเมื่อเวลาหลวงปู่ถูกนิมนต์ไปเทศนาแสดงธรรมในที่ต่างๆ เมื่อมีคนเข้ามาขอวัตถุมงคลหลวงปู่จะหยิบธนบัตร และมอบให้เพื่อนำไปบูชา ถือเป็นวัตถุมงคลอย่างหนึ่งที่ท่านให้กับญาติโยมบรรดาญาติโยมที่ได้ได้รับธนบัตรนำเลขท้ายไปซื้อล๊อตเตอรี่ก็จะได้รับโชคมาด้วย วัตถุมงคลที่หลวงปู่สมบุญได้อธิฐานจิตปลุกเสกนั้นล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องค้นหามาสะสม รวมถึงประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอธงชัย รวมถึงในตัวเมืองจังหวัดโคราช เพราะเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ เมตตามหานิยม และทางด้านแคล้วคลาดต่าง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งได้มีรถรับส่งพระสงฆ์เดินทางไปสอบในนักธรรมในตัวจังหวัดโคราชแต่ได้ประสบอุบัติเหตุรถเสียหลักพลิกคว่ำหลายตลบ สภาพรถเสียหายยับเยินจนใครๆคิดว่าคนในรถดังกล่าวจะเสียชีวิตทั้งหมด แต่ปรากฎว่าผู้โดยสารในรถปลอดภัย จึงพากันแปลกใจว่าเพราะเหตุใดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดมาปกป้องเพราะทุกคนในรถไม่ได้แขวนพระเครื่ององค์ใด ปรากฎว่านย่ามของภิกษุที่เดินทางไปสอบนั้นมีพระกริ่งรูปเหมือนหลวงปู่สมบุญรุ่นแรก.... ของวัดโนนค่าง ที่ภิกษุรูปดังกล่าวได้บูชาและเก็บไว้ในย่ามตลอดเวลา เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพุทธคุณของหลวงปู่สมบุญในเรื่องแคล้วคลาด ซึ่งมีอีกหลายเหตุการณ์ที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน จนเป็นที่เลื่อมใสในพุทธคุณวัตถุมงคลของหลวงปู่สมบุญกับบุคคลทั่วไปที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ไว้บูชาหรือคล้องคอด้วยเมตตาของหลวงปู่สมบุญทางคณะศิษยานุศิษย์โดย พระครูสุนทรจารคุณ เจ้าอาวาส วัดป่าโพธิภาวัน(โนนค่าง) เจ้าคณะตำบลระเริงเขต 2 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด ต้องการที่จะสืบสานเจตนารมณ์ของหลวงปู่สมบุญ จึงได้ของอนุญาติจัดสร้างเหรียญเสมารุ่น ”กองบุญ” ซึ่งเป็นเหรียญเสมารุ่นแรกของหลวงปู่สมบุญเพื่อออกให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชา โดยวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนในการที่จะตั้งกองทุนปริปุนฺณสีโลเพื่อให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรและเด็กนัดเรียนผู้ขาดแคลนในการศึกษา รวมถึงเป็นทุนให้แก่พระวิทยากรในการอบรมศีลธรรมและ ใช้ในกรณีดูแลพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ โดยเหรียญเสมาได้ออกแบบอย่างปาณีตบรรจงสมกับเป็นเหรียญเสมารุ่นแรกโดยลักษณะเป็น หลวงปู่นั่งสมาธิอยู่กลางเหรียญ กรอบเสมาเป็นลายกนกอ่อนช้อยเป็นเกลียวคลื่นม้วนกลับหลังเหรียญเป็นยันต์เรียกว่า ยันต์พระเจ้า๑๖ พระองค์หรือ คาถาธรรมราชา โดยยันต์นี้ประกอบขึ้น เพื่อให้ได้พุทธทั้งคงกระพันแคล้วคลาดและเมตตาโดยยันต์แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือตอนต้นเรียกว่าสิบหกพระองค์ปฐมบทให้พุทธคุณทางด้านคงกระพันแคล้วคลาด ตอนที่สองเรียกว่าสิบหกพระองค์บทรองเด่นทางด้านเมตตาเป็นที่สุด ฉะนั้นเมื่อนำทั้งสองบทมารวมกันเรียกได้เลยว่าเป็นทั้งเมตตาและแคล้วคลาด
ผู้เข้าชม
624 ครั้ง
ราคา
250
สถานะ
เปิดให้บูชา
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
ร้านค้า
โทรศัพท์
ไอดีไลน์
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9

ผู้เข้าใช้งานล่าสุด
stp253termboonNetnapatumlawyerมนต์เมืองจันท์เปียโน
เอก พานิชพระเครื่องบ้านพระสมเด็จชาวานิชไกร วรมันชา วานิชsomeman
hra7215jochoว.ศิลป์สยามเจริญสุขภูมิ IRLe29Amulet
เทพจิระโจ๊ก ป่าแดงน้ำตาลแดงhoppermansirachalord
tplasep8600tintinเพ็ญจันทร์mon37Manas094

ผู้เข้าชมขณะนี้ 1353 คน

เพิ่มข้อมูล

หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน ตกุดเงินมาก หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา หมายเลข 115




  ส่งข้อความ



ชื่อพระเครื่อง
หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน ตกุดเงินมาก หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา หมายเลข 115
รายละเอียด
ตกุดเงินมาก
หลวงปู่บุญ สวนนิพพาน
อ.ปักธงชัย
จ.นครราชสีมา
หมายเลข 115
ประวัติหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล (หลวงพ่อบุญ) อริยสงฆ์แห่งปักธงชัย เนื้อนาบุญทองแท้แห่งที่ราบสูง
บิดา นายหลอด แรมกิ่ง 
มารดา นางคำ แรมกิ่ง 
เกิดที่บ้านปอแดง หมู่ที่๔ ต.ภูหลวง อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา
เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ 
อุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๔ 
ณ พัทธสีมา วัดบ้านห้วยสะแกราช ต.สะแกราช อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา 
โดยมี พระครูสาทรคณารักษ์
(หลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท)
วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นพระอุปัชฌาย์ 
พระครูพิศาลสุขวัฒน์ วัดสุขวัฒนาราม เป็นกรรมวาจาจารย์ 
พระครูสุทธิสีลคุณ วัดบ้านห้วยสะแกราช เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อครั้งหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล ยังครองหฤหัสอยู่ได้ทำงานเป็นนายช่างในการก่อสร้างตัดถนน สืบศิริให้กับบริษัทฝรั่งแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นถนนตัดผ่านหน้าวัดปอแดงปัจจุบัน ได้เกิดอุบัติเหตุทางรถจักรยานยนต์พร้อมกับเพื่อนสนิทของท่าน เหตุการณ์ในครั้งนั้นทำให้เพื่อนสนิทของท่านที่เป็นเพื่อนกันมาตั้งแต่สมัยที่เป็นทหารนั้นต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นั้น ยังผลให้หลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล เสียใจมากต่อเหตุการณ์
นั้นถึงขนาดเศร้าซึมและเหม่อลอย จนกระทั่งหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุ เจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ได้
เทศนาธรรมให้ข้อคิดต่อหลวงปู่ใจความว่า “ก้อนเขละ (เสมหะ) ที่บ้วนทิ้งออกไปแล้วไม่สามารถกลับมาเป็น
เดิมได้” จึงเกิดเป็นปฏิปทานต่อหลวงปู่ในการก้าวสู่ร่มกาสาวพัตรเพื่อศึกษาและปฏิบัตรธรรมะ โดยมีจุด
ประสงค์นิพพานตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่ออุปสมบทแล้วหลวงปู่สมบุญ ปริปุนฺณสีโล ได้ศึกษาข้อวัตรปฏิบัติกับหลวงพ่อวิชัย นิรามโยภิกขุเจ้าอาวาสวัดปอแดงในขณะนั้น ซึ่งเป็นศิษย์ธรรมทายาทของหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโทอยู่ที่วัดปอแดง ๒ พรรษา โดยได้ศึกษาธรรมและวัตรปฏิบัติของสงฆ์ต่างๆกับหลวงพ่อวิชัย ซึ่งหลวงปู่สมบุญได้เคร่งครัดในธรรมวินัยโดยจริยวัฒน์งดงาม หลังจากนั้นได้ไปศึกษากรรมฐานวิชชากับหลวงปู่ก้อน จิตฺตาสาโท ผู้เป็นพระอุปัชฌาย์ เก่งกล้าทางด้านฌาญสมาบัติ ทั้งยังเป็นเอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา เทพเจ้าแห่งปักธงชัยผู้เป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่มั่น ปุริสุโธ และเป็นศิษย์ผู้สืบทอดวิชาอาคมจากสำเร็จลุน สังฆราชเจ้าแห่งประเทศลาวโดยตรง ในการศึกษากับหลวงปู่ก้อนนั้นหลวงปู่สมบุญ นอกจากจะได้ศึกษาในหลักการกรรมฐานวิชชา แล้วนั้นยังได้รับการถ่ายทอดอาคมต่างๆ จากหลวงปู่ก้อน ที่เป็นศิษย์เอกของหลวงปู่โต คังคะปัญญา เทพเจ้าแห่งปักธงชัยผู้มีกรรมฐานวิชชาและอาคมที่เก่งกล้ามากอีก ๑ พรรษาเพื่อที่จะได้สามารถปฏิบัติวัตรธุดงค์เพื่อจาริกแสวงบุญพร้อมกับบำเพ็ญเพียรตามที่ได้ตั้งใจเมื่อครั้งก้าวเข้าสู่เพศบรรพชิตโดยมีจุดหมายคือสำเร็จมรรคผลนิพพานอย่างตั้งมั่นหลวงปู่สมบุญได้ออกธุดงค์เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๑๘ จนถึง ปี ๒๕๓๘ โดยในปีแรกได้เริ่มต้นโดยการออกธุดงธ์ไปกับหลวงพ่อวิชัยผู้เป็นอาจารย์จุดมุ่งหมายในที่แรกคือ วัดหนองป่าพง อ.วารินชำราบ จ.อุบลราชธานี เพื่อกราบนมัสการหลวงปู่ชา สุภทฺโท ซึ่งเป็นพระมหาเถระที่ มีผลผลงานทางด้านเผยแผ่พระพุทธศาสนา ด้านวิปัสสนาธุระ ที่โดดเด่นที่สุดรูปหนึ่งของสังคมไทย และมีลูกศิษย์เป็นชาวต่างประเทศมากมายโดยการไปกราบนมัสการหลวงปู่ชาในครั้งนั้นได้ศึกษาวิชาวิปัสนากรรมฐานจากหลวงปู่ชา สุภทฺโท อย่างแน่วแน่และตั้งใจปฏิบัติในแนวทางกรรมฐานของหลวงปู่ชา หลังจากนั้นได้ออกเดินธุดงค์ต่อไปจนถึงประเทศลาวเพื่อสักการะแด่สำเร็จลุน ณ ภูเขาควาย ที่ประเทศลาว ซึ่งเป็นที่ที่ สำเร็จลุณ ใช้ปฏิบัติธรรมอยู่ในสมัยที่ยังมีชีวิต โดยหลวงปู่สมบุญนั้นถือได้ว่าเป็นเหลนศิษย์ของสำเร็จลุนเนื่องด้วย หลวงปู่ก้อนพระอุปัชฌาย์ของหลวงปู่สมบุญ เป็นศิษย์ของหลวงปู่โต คังคะปัญญาซึ่งเป็นศิษย์ใน สำเร็จ ลุน สืบวิชาสายตรงมา กล่าวถึงสำเร็จ ลุน เป็นสุดยอดปรมาจารย์ของประเทศลาว พระเกจิอาจารย์ทางภาคอีสาน แถบลุ่มน้ำโขง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังล้วนฝากตัวเป็นศิษย์ รวมถึงหลวงปู่มั่น ปุริสุโธ ซึ่งเป็นปรจารย์แห่งภิกษุทั้งหลายในภาคอีสาน สำเร็จลุนนั้นท่านมีอิทธิปาฏิหาริย์มากมาย เหลือจะบรรยายเป็นตัวอักษรได้ จะขอกล่าวไว้พอเป็นสังเขป สำเร็จลุนท่านสามารถเดินข้ามแม่น้ำโขงได้ด้วยเท้าเปล่า และบางครั้งท่านจะไปสรงน้ำกลางแม่น้ำโขง นี่คืออิทธิปาฏิหาริย์ของสำเร็จลุน
ในการธุดงค์ของหลวงปู่สมบุญ เจตนาคือเพื่อที่จะทำการศึกษาหลักวิชาอาคมและหลักธรรม รวมถึงฝึกวิปัสนากรรมฐานเพื่อบรรลุมรรคผลนิพพานในเจตนาแรกของการอุปสมบท จากคำบอกเล่าของศิษยานุศิษย์รุ่นต่างๆ ที่ได้ใกล้ชิดกับหลวงปู่สมบุญ ทั้งที่ได้ร่วมธุดงค์และจากคำบอกเล่าประสบการณ์การธุดงค์ของหลวงปู่แก่เหล่าลูกศิษย์นั้น พอจะเรียบเรียงได้ดังนี้ หลังจากกลับจากธุดงค์ประเทศลาวนั้น หลวงปู่ได้กลับมาจำพรรษาที่วัดปอแดง โดยได้ฝึกปฏิบัติกรรมฐานวิปัสนาธรรมจากที่ได้ร่ำเรียนจากอาจารย์ต่างๆ ในช่วงธุดงค์อยู่เป็นนิตย์ ระหว่างการจำพรรษาอยู่นั้นก็ได้รับการอบรมหลักวิชาธรรมะเพิ่มเติมจากพระอาจารย์วิชัย และพระมหาธนิต ปสุโต ปธ.๙ ประโยค แห่งวัดชนะสงคราม โดยพระมหาธนิตผู้นี้ เป็นผู้ยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนและเน้นหนักในปฏิบัติวิถี กล่าวคือเมื่อท่านได้สอบได้ในเปรียญธรรม๙ประโยคแล้วนั้นท่านไม่ขอรับสมณศักดิ์ใดๆ เลยทั้งสิ้นมุ่งหน้าสู่วิเวกปฏิบัติและเผยหลักปฏิบัติกรรมฐานแด่พุทธศาสนิกชนทั่วไป ท่านมหาธนิตผู้นี้เป็นผู้เริ่มในการจัดงานปริวาสกรรมที่วัดปอแดงขึ้น โดยการยึดเอาวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีเป็นวันเริ่มการปริวาส ซึ่งเมื่อกาลก่อนในสมัยหลวงปู่โต คังคฺปัญญา นั้นในวันเพ็ญเดือน ๓ ของทุกปีจะเป็นวันที่ชาวบ้านนัดหมายกันมาที่วัดปอแดงเพื่อกราบนมัสการรอยพระพุทธบาทที่หลวงปู่โต อัญเชิญมาจากอินเดียเมื่อคราวที่ได้ออกธุดงค์ไปอินเดียเมื่อพระมหาธนิตเห็นว่าวันดังกล่าวเป็นวันดีที่ชาวบ้านจะมาชุมนุมอยู่แล้วจึงจัดให้มีการชุมนุมสงฆ์ เพื่อให้เข้ามาร่วมงานปริวาสกรรมด้วย โดยงานปริวาสกรรมนี้ได้จัดเป็นประเพนีสืบต่อกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้พระมหาธนิตเป็นหนึ่งในบูรพาจารย์ที่ทางหลวงปู่สมบุญยึดถือเอาเป็นแบบอย่างในการไม่ยึดติดในสมณศักดิ์ใดๆ ดังจะเห็นได้จากการที่หลวงปู่ไม่รับสมณศักดิ์ใดๆเลยแม้แต่เจ้าอาวาสโดยให้ลูกศิษย์ต่างๆ ของท่านดำรงสมณศักดิ์แทน
หลักธรรมะ
ปัจจุบันหลวงปู่อายุ ๗๖ ปี พรรษา ๔๐ ปฏิบัติธรรม กรรมฐาน พร้อมกับออกเทศนาสั่งสอนแก่ประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอปักธงชัยและโคราช จนเป็นที่เลื่อมใสของประชาชนญาติโยม โดยให้หลักธรรมมะแก่ประชาชนคือ ลดละไฟ ๓ กอง คือ อโลภะ อโทสะ อโมหะ หากสามารถดับไฟ ๓ กองนี้หรือเพียงแค่ลดได้ชีวิตนี้ก็จะเป็นสุข เมตตาของหลวงปู่สมบุญนั้นเหลือประมาณ ในบ่อยครั้งหลวงปู่จะนำปัจจัยและสิ่งของที่ได้จากการถวายจากญาติโยม ไปซื้ออุปกรณ์เกี่ยวการศึกษา เช่น สมุด หนังสือ เครื่องเขียน ไปให้ตามโรงเรียนต่างๆ โดยนำไปให้ด้วยตนเองด้วยความเมตตาของท่านเพื่อสนับสนุนการศึกษาให้กับนักเรียนทั้งในเขตอำเภอปักธงชัยและโคราช อีกทั้งยังได้สร้างสำนักกรรมฐาน สำนักสงฆ์อีกหลายแห่งเพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติธรรมบ่อยครั้งเมื่อเวลาหลวงปู่ถูกนิมนต์ไปเทศนาแสดงธรรมในที่ต่างๆ เมื่อมีคนเข้ามาขอวัตถุมงคลหลวงปู่จะหยิบธนบัตร และมอบให้เพื่อนำไปบูชา ถือเป็นวัตถุมงคลอย่างหนึ่งที่ท่านให้กับญาติโยมบรรดาญาติโยมที่ได้ได้รับธนบัตรนำเลขท้ายไปซื้อล๊อตเตอรี่ก็จะได้รับโชคมาด้วย วัตถุมงคลที่หลวงปู่สมบุญได้อธิฐานจิตปลุกเสกนั้นล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่ต้องการของนักสะสมพระเครื่องค้นหามาสะสม รวมถึงประชาชนทั่วไปในเขตอำเภอธงชัย รวมถึงในตัวเมืองจังหวัดโคราช เพราะเปี่ยมไปด้วยพุทธคุณ เมตตามหานิยม และทางด้านแคล้วคลาดต่าง ว่ากันว่าครั้งหนึ่งได้มีรถรับส่งพระสงฆ์เดินทางไปสอบในนักธรรมในตัวจังหวัดโคราชแต่ได้ประสบอุบัติเหตุรถเสียหลักพลิกคว่ำหลายตลบ สภาพรถเสียหายยับเยินจนใครๆคิดว่าคนในรถดังกล่าวจะเสียชีวิตทั้งหมด แต่ปรากฎว่าผู้โดยสารในรถปลอดภัย จึงพากันแปลกใจว่าเพราะเหตุใดมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ใดมาปกป้องเพราะทุกคนในรถไม่ได้แขวนพระเครื่ององค์ใด ปรากฎว่านย่ามของภิกษุที่เดินทางไปสอบนั้นมีพระกริ่งรูปเหมือนหลวงปู่สมบุญรุ่นแรก.... ของวัดโนนค่าง ที่ภิกษุรูปดังกล่าวได้บูชาและเก็บไว้ในย่ามตลอดเวลา เหตุการณ์ดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงพุทธคุณของหลวงปู่สมบุญในเรื่องแคล้วคลาด ซึ่งมีอีกหลายเหตุการณ์ที่มีประสบการณ์คล้ายคลึงกัน จนเป็นที่เลื่อมใสในพุทธคุณวัตถุมงคลของหลวงปู่สมบุญกับบุคคลทั่วไปที่มีวัตถุมงคลของหลวงปู่ไว้บูชาหรือคล้องคอด้วยเมตตาของหลวงปู่สมบุญทางคณะศิษยานุศิษย์โดย พระครูสุนทรจารคุณ เจ้าอาวาส วัดป่าโพธิภาวัน(โนนค่าง) เจ้าคณะตำบลระเริงเขต 2 ซึ่งเป็นลูกศิษย์ใกล้ชิด ต้องการที่จะสืบสานเจตนารมณ์ของหลวงปู่สมบุญ จึงได้ของอนุญาติจัดสร้างเหรียญเสมารุ่น ”กองบุญ” ซึ่งเป็นเหรียญเสมารุ่นแรกของหลวงปู่สมบุญเพื่อออกให้ประชาชนทั่วไปได้เช่าบูชา โดยวัตถุประสงค์ เพื่อสมทบทุนในการที่จะตั้งกองทุนปริปุนฺณสีโลเพื่อให้การสนับสนุนทุนการศึกษาแก่พระภิกษุ สามเณรและเด็กนัดเรียนผู้ขาดแคลนในการศึกษา รวมถึงเป็นทุนให้แก่พระวิทยากรในการอบรมศีลธรรมและ ใช้ในกรณีดูแลพระภิกษุ สามเณรที่อาพาธ โดยเหรียญเสมาได้ออกแบบอย่างปาณีตบรรจงสมกับเป็นเหรียญเสมารุ่นแรกโดยลักษณะเป็น หลวงปู่นั่งสมาธิอยู่กลางเหรียญ กรอบเสมาเป็นลายกนกอ่อนช้อยเป็นเกลียวคลื่นม้วนกลับหลังเหรียญเป็นยันต์เรียกว่า ยันต์พระเจ้า๑๖ พระองค์หรือ คาถาธรรมราชา โดยยันต์นี้ประกอบขึ้น เพื่อให้ได้พุทธทั้งคงกระพันแคล้วคลาดและเมตตาโดยยันต์แบ่งออกเป็น ๒ ตอน คือตอนต้นเรียกว่าสิบหกพระองค์ปฐมบทให้พุทธคุณทางด้านคงกระพันแคล้วคลาด ตอนที่สองเรียกว่าสิบหกพระองค์บทรองเด่นทางด้านเมตตาเป็นที่สุด ฉะนั้นเมื่อนำทั้งสองบทมารวมกันเรียกได้เลยว่าเป็นทั้งเมตตาและแคล้วคลาด
ราคาปัจจุบัน
250
จำนวนผู้เข้าชม
626 ครั้ง
สถานะ
เปิดให้บูชา
โดย
ชื่อร้าน
บารมีบุญพระเครื่อง
URL
เบอร์โทรศัพท์
0910162844
ID LINE
rit3009
บัญชีธนาคารยืนยันตัวตน
1. ธนาคารกสิกรไทย / 008-8-93615-9




กำลังโหลดข้อมูล

หน้าแรกลงพระฟรี